SURVEY OF MUSLIM OPINION ON MIXTURE BETWEEN MEN AND WOMEN DURING THE WORKING IN NORTH KALUWO DISTRICT, NARATHIWAT PROVINCE / ส ำรวจระด ับควำมคิดเห็ นของประชำชนมุสลิมต่อกำรปะปนระหว่ำงช ำยหญิงในช่วงกำรท ำงำนในพื้นที ่ต ำบลกะลุวอเหนื อ จ ังหว ัดนรำธิวำส

Main Article Content

Tarmisi Salaeh
Nurmee Seng

Abstract

This is a survey research of which objectives were to 1) Study the Islamic provisions about mixing between men and women 2) Survey the opinion of Muslims about mixture between men and women during the working in North Kaluwo District, Narathiwat Province. Data were obtained information from Quran, Al-Hadith, books, Academic documents and related research, and collecting data from Muslims population living in North Kaluwa District Narathiwat Province, and qualitative interviewees total of 301 respondents selected by a simple random method, the confidence value was obtained by Cornbrash’s alpha coefficient was 0.99. The data then was analyzed into percentage, mean and standard deviation.The findings revealed that 1) the most of the samples indicated that The Islamic provisions do not permit the mixing of men and women. Unless there is only a necessity because this mingles between men and women lead to fitnah, including the prohibition of looking at each other that is not Mahrom. In addition, Islam encourages men and women to own themselves in accordance with the established Islamic framework strictly 2) Opinion survey of the Muslim population on mixed-gender mingles during working in the North Kaluwo district Narathiwat Province Overall is at a high level. This is the mean 4.12 and standard deviation of 0.84. The results of this research also suggest that The Muslim community of Islam has made a point of concern to the issue of mixed-up between men and women during their work. Although difficult to avoid in today's society hence, it is imperative to hold ourselves appropriately during the work in accordance with the well-defined framework and scope of Islamic principlesการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบัญญัติอิสลามว่าด้วยการปะปนระหว่างชายหญิง 2) สำรวจระดับความคิดเห็นของประชาชนมุสลิมต่อการปะปนระหว่างชายหญิงในช่วงการทำงาน ในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ จังหวัดนราธิวาส โดยทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากอัลกุรอาน  อัลฮะดีษ หนังสือตำรา เอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงสำรวจของผู้ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรมุสลิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 301 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.99 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่า บทบัญญัติอิสลามไม่มีข้ออนุญาตให้มีการปะปนระหว่างชายหญิง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น ด้วยเพราะการปะปนระหว่างชายหญิงนี้จะนำไปสู่ฟิตนะฮ์รวมถึงการห้ามไม่ให้มองซึ่งกันและกันที่ไม่ใช่มะฮ์รอม อีกทั้งอิสลามได้ส่งเสริมให้ชายหญิงได้ครองตนตามกรอบของศาสนาอิสลามที่ได้กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด 2) การสำรวจระดับความคิดเห็นของประชาชนมุสลิมต่อการปะปนระหว่างชายหญิงในช่วงการทำงาน ในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ จังหวัดนราธิวาส โดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 และผลการวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า ประชาชนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการปะปนระหว่างชายหญิงในช่วงการทำงาน แม้นยากจะหลีกเลี่ยงในสังคมยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องครองตนอย่างเหมาะสมในระหว่างการทำงานตามกรอบและขอบเขตของหลักการศาสนาอิสลามที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา 2544. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินในจังหวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

นาอีม วงศ์เสงี่ยม. 2561. การทำงานร่วมกันระหว่างมุสลีมีนกับมุสลีมะฮฺ. สืบค้นจาก: https://fityatulhaq.net.

สืบค้นเมื่อ: 5 มีนาคม 2564.

มุฮัมมัด อิบนู อิสมาอีล อัลบุคอรีย์. 2004. ศอเฮียฮฺ อัลบุคอรีย์. ซาอุดีอาราเบีย: บัยตุลอัฟการฺเพื่อ

ตีพิมพ์.

ยศวดี บุณยเกียรติ และวัลลภา นีละไพจิตร. 2562. บทบาทสตรีในสังคมมุสลิม. สืบค้นจาก:

http://www.fpps.or.th. สืบค้นเมื่อ: 5 มีนาคม 2564.

ยุซุฟ ก็อรฎอวีย์. 2549. การปะปนกันระหว่างชายหญิง. สืบค้นจาก: http:// muslimchiangmai.net.

สืบค้นเมื่อ: 5 มีนาคม 2564.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย. ม.ป.ป. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมความหมายภาษาไทย.

ราชอาณาจักรซาอุดีอาราเบีย : ศูนย์กษัตริย์ ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

สุภาวดี เลาะแว. 2560. ศึกษาทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่มี

การปะปนระหว่างชายหญิง. สารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากฎหมาย

อิสลาม สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. นราธิวาส: สถาบันอิสลาม

และอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

ใสสุนีย์ เดมิง. 2562. บทบัญญัติขอบเขตการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงในทัศนะอิสลาม กรณีศึกษา: ระดับ

ความรู้ความเข้าใจการจัดกิจกรรมของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราช

นครินทร์. สารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอิสลาม สถาบัน

อิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์. นราธิวาส: สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

อับดุรเราะห์มาน อับดุลการีม. 2558. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของผู้หญิง. สืบค้นจาก: https://www. islammore.com. สืบค้นเมื่อ: 5 มีนาคม 2564.

อาบู อีซา มุฮัมมัด บิน อีซา อัตติรมีซีย์. 1983. ญาเมียอฺ อัตติรมีซีย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เลบานอน: ดารุลฟิกรฺ.

Cronbach, L., J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational

and Psychological Measurement. 30, pp. 607-610.